การปฏิรูปและผลักดันระบบทางเศรษฐกิจของอียิปต์

fes013
อียิปต์ เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือที่มีประชากรมากที่สุด โดยมีพื้นที่ประมาณ 1,020,000 กม.² ซึ่งรวมถึงคาบสมุทรซีนาย ในขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศตั้งอยู่ในแอฟริกาเหนือ มีพรมแดนด้านตะวันตกติดกับประเทศลิเบีย ด้านใต้ติดกับประเทศซูดาน ด้านตะวันออกเฉียงเหนือติดกับประเทศอิสราเอล ชายฝั่งทางเหนือติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และทางตะวันออกติดกับทะเลแดง ซึ่งประชากรอียิปต์ส่วนใหญ่อาศัยบนทั้งสองฝั่งของแม่น้ำไนล์ และคลองสุเอซ พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นส่วนของทะเลทรายซาฮารา และมีผู้คนอาศัยอยู่เบาบาง มีชื่อเสียงในด้านอารยธรรมโบราณ รวมถึงอนุสาวรีย์โบราณที่น่าตื่นตาที่สุดในโลก ได้แก่ พีระมิด อารามคาร์นัค และหุบเขากษัตริย์ ในปัจจุบันอียิปต์ถือว่าเป็นศูนย์กลางทางการเมืองและวัฒนธรรมของโลกอาหรับ

อียีปต์มีแม่น้ำไนล์ผ่านกลางประเทศซึ่งทำให้เป็นลำน้ำที่อุดมสมบูรณ์และกิจกรรมทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ก็เกิดขึ้นที่บริเวณลุ่มน้ำแห่งนี้ในช่วง 30 ปีผ่านมา รัฐบาลได้ดำเนินการปฎิรูปเศรษฐกิจจากแบบรวมศูนย์ที่เป็นมรดกตกทอดมาตั้งแต่สมัยประธานาธิบดี NASSER ให้เปิดเสรีมากขึ้น นับตั้งแต่ปี 2005 เป็นต้นมา นายกรัฐมนตรี NAZIF ได้เลิกภาษีเงินได้และภาษีนิติบุคคล ลดการอุดหนุนด้านพลังงาน และแปรรูปรัฐวิสาหกิจ GDP ขยายตัวกว่าร้อยละ 5 ต่อปีในช่วงปี 2005-2006 แม้ว่าจะสามารถผลักดันเศรษฐกิจให้ขยายตัวแต่รัฐบาลยังไม่สามารถยกระดับมาตรฐานการครองชีพของคนอียิปต์โดยรวม และรัฐบาลยังคงต้องให้การอุดหนุนในสิ่งจำเป็นพื้นฐานของประชาชน ซึ่งการอุดหนุนดังกล่าวส่งผลให้เกิดการขาดดุลงบประมาณกว่าร้อยละ 10 ของ GDP ในแต่ละปี ในด้านการลงทุนจากต่างประเทศก็ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำ ทั้งนี้ในการที่จะกระตุ้นให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน รัฐบาลจะต้องผลักดันให้เกิดการปฎิรูปอย่างจริงจัง ด้านพลังงาน โดยเฉพาะการส่งออกก๊าซธรรมชาติที่มีอนาคตที่แจ่มใส

ในปัจจุบันอียิปต์มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมากขึ้น มีการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพดีขึ้น และมีการลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติเพิ่มขึ้น โดยเข้าไปประกอบอุตสาหกรรมและลงทุนสาขาต่างๆ รวมทั้งอุตสาหกรรมประเภทที่ไทยผลิตและส่งออกด้วย ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยไปยังอียิปต์ในอนาคต อย่างไรก็ตามในปัจจุบันอียิปต์ได้เข้าไปร่วมเป็นสมาชิกตลาดร่วมแอฟริกาตะวันออกและใต้ในปี พ.ศ. 2541โดยมีจุดมุ่งหมายขยายตลาดสินค้าอียิปต์เข้าไปยังประเทศต่างๆในแอฟริกา  เมื่อเดือน มิ.ย. 44 อียิปต์ได้ลงนามร่วมกับสหภาพยุโรป (อียู) ซึ่งจะมีผลตต่อความสัมพันธ์กับอียูในด้านการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ การเงิน ลังคม วัฒนธรรมและการกงสุล รัฐบาลอียิปต์ได้ใช้ความพยายามที่จะปฏิรูปเศรษฐกิจ ให้มีการค้าเสรี การแปรรูปกิจการของรัฐไปสู่ภาคเอกชน ส่งเสริมการลงทุน กระตุ้นรัฐวิสาหกิจให้เพิ่มผลผลิต ผลเลิกการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ อียิปต์ได้ขอความช่วยเหลือจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศ อาทิ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ธนาคารโลก Paris Club รวมทั้งจากประเทศกลุ่มอาหรับอียิปต์ได้ทำการปฏิรูปทางเศรษฐกิจตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 โดยใช้นโยบายเศรษฐกิจการตลาดให้มีการค้าเสรี การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ยกเลิกควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศสะดวกขึ้น